มีรายงานล่าสุดมาว่า Ubisoft นั้น มีการมอบ NFTs ให้แก่ทีมงานพัฒนา Ghost Recon บางราย โดยอ้างว่าเป็นการฉลองครบรอบ 20 ปีของแฟรนไชน์ (5 ก.พ. 2565) มีการรายงานล่าสุดจาก Kotaku ถึงสถานการณ์การประยุกต์ใช้งาน NFTs ของ Ubisoft ว่าบริษัทนั้น ได้ทำการปล่อย NFT ให้แก่ทีมงานผู้พัฒนาจำนวนหนึ่ง โดยหวังผลเพื่อคลายความกังวล และไม่ไว้วางใจในตัวสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีเรื่องฉาวนี้
โดยการมอบดังกล่าวนั้น Ubisoft ได้อ้างว่าเป็นการมอบเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีของแฟรนไชน์นี้
การดำเนินการดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในแนวทางลดกระแสแง่ลบที่ถ่าถมมามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงภายหลังเปิดตัว Ubisoft Quartz แพลตฟอร์มสำหรับแลกเปลี่ยน NFT ของบริษัท และเมื่อไม่นานมานี้นั้น Nicolas Pouard รองประธานฝ่าย Strategic Innovations Lab ของ Ubisoft นั้น ก็ได้ให้สัมภาษณ์ในประเด็นดังกล่าวกับ Finder เว็บไซต์เปรียบเทียบทางการเงินจากประเทศออสเตรเลีย โดยได้ปกป้องแนวทางการใช้งาน NFT ภายในเกมส์ของบริษัท
Pouard ได้กล่าวว่า กระแสแง่ลบที่เกิดขึ้นนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ได้คาดการณ์ไว้ และพวกเขานั้นก็รู้ว่ามันไม่ใช่แนวคิดที่จะประยุกต์ใช้ได้ง่าย ๆ พร้อมทั้งยังได้กล่าวอีกว่าบรรดาผู้เล่นทั้งหลายนั้น “ไม่เข้าใจ” ว่าตลาดสินทรัพย์มือสองแบบดิจิทัลนั้นจะมอบอะไรให้พวกเขาได้บ้าง พร้อมทั้งเชื่อว่าเหตุผลหลักในการปฏิเสธมาจากความกังวลทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
ทั้งนี้แล้วก็มีการรายงานก่อนหน้าจากทาง Kotaku ว่า บรรดาผู้พัฒนาเกมส์ภายในบริษัทนั้น ต่างไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งกับแนวทางที่บริษัทกำลังมุ่งหน้าไป โดยมีทั้งที่สับสนว่า “ปัญหา” ที่ว่านี้ถูกแก้ไขยังไง และมันคุ้มค่าแค่ไหนกับกระแสแง่ลบที่เกิดขึ้น และที่ไม่เห็นด้วยกับตัวแพลตฟอร์มเลยแม้แต่น้อย
วิดีโอเปิดตัว Ubisoft Quartz นั้น ได้รับการกดไม่พอใจถึง 95% นับตั้งแต่เปิดตัวมา และตัววิดีโอนั้นก็ถูกปลดการมองเห็นบนช่อง Youtube – Ubisoft North America ด้วย
ทวิตเตอร์ได้มีการอัปเดตนโยบายในเรื่องของข้อมูลโควิด-19 ที่อาจนำไปสู่ความเข้าใจที่ผิดพลาดได้เพื่อให้ทุกคนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19 บนทวิตเตอร์
นอกจากนี้ทวิตเตอร์ยังได้ขยายบริการ การแจ้งเตือน #ThereIsHelp เพื่อให้บริการข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากแหล่งที่เชื่อถือได้ สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
เดือนธันวาคม 2564 ทวิตเตอร์ได้เพิ่มการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการติดเชื้อ HIV ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั่วโลกเพื่อนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับเชื้อ HIV และโรคเอดส์ทั้งในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก ทวีปอเมริกา เช่น บราซิล รวมทั้งฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และสหรัฐอเมริกา
เดือนพฤษภาคม 2564 ทวิตเตอร์ได้เปิดให้บริการ การค้นหาเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย โดยเมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ค้นหาคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกบนทวิตเตอร์ จะได้รับการแจ้งเตือนอัตโนมัติเป็นเบอร์สายด่วนและลิงก์ที่สามารถติดต่อไปยังองค์กรพันธมิตร
ทวิตเตอร์ร่วมมือกับองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (@UNWomenAsia) เพื่อขยายความช่วยเหลือและสนับสนุนในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความรุนแรงทางเพศในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
ทิปส์ควบคุมประสบการณ์การใช้ทวิตเตอร์
ในยุคของโลกดิจิทัล ความต้องการที่จะมีบทสนทนาที่เป็นความจริง มีความครอบคลุม และมีความปลอดภัยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ทวิตเตอร์เองก็มุ่งมั่นที่จะทำให้ผู้ใช้งานมีความรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้นและสามารถควบคุมประสบการณ์การใช้ทวิตเตอร์ของตนเองได้ นี่คือเคล็ดลับ 7 ข้อที่จะช่วยให้คุณรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้นในขณะเข้าร่วมบทสนทนาบนทวิตเตอร์
การสร้างความปลอดภัยให้กับแอคเคาท์ทวิตเตอร์ของคุณด้วยการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน (หรือ 2FA) เพื่อเพิ่มขั้นตอนพิเศษในการรักษาความปลอดภัยให้กับแอคเคาท์ของคุณว่าจะมีเพียงคุณซึ่งเป็นเจ้าของแอคเคาท์เท่านั้นที่จะสามารถล็อกอินเข้าใช้งานได้
ทวิตเตอร์คือสถานที่ที่ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออก การตั้งค่าปกป้องทวีตของคุณจะช่วยให้คุณสามารถแชร์ทวีตความคิดและความคิดเห็นกับกลุ่มคนที่ติดตามคุณได้ในจำนวนที่จำกัด
เมื่อไม่นานมานี้ทวิตเตอร์ได้ออกฟีเจอร์ใหม่ที่ผู้ใช้งานสามารถควบคุมได้ว่าใครสามารถติดตามคุณได้บ้าง ถ้าหากคุณต้องการตั้งค่าจำกัดการใช้งานกับบางแอคเคาท์ ตอนนี้คุณสามารถลบแอคเคาท์เหล่านั้นออกจากรายชื่อผู้ติดตามของคุณได้โดยที่ไม่ต้องบล็อกแอคเคาท์เหล่านั้น (สามารถเข้าไปตั้งค่าบนเว็บที่ Twitter.com)
ทวิตเตอร์ช่วยให้ผู้คนจำกัดการเห็นทวีตจากบางแอคเคาท์โดยที่ไม่จำเป็นต้องกดเลิกติดตามหรือบล็อกพวกเขา เพียงแค่คุณเข้าไปตั้งค่าซ่อนแอคเคาท์เหล่านั้น หรือบางคนอาจจะเข้าไปจัดการแอคเคาท์เพื่อซ่อนคำเฉพาะบางคำ ซ่อนบทสนทนา ซ่อนกลุ่มคำชื่อแอคเคาท์ อีโมจิ หรือแฮชแท็ก
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป